การผ่าตัดไทรอยด์ส่องกล้องทางปากไร้แผลเป็น (Transoral Endoscopic Thyroidectomy Vestibular Approach  : TOETVA )

  • โรคของต่อมไทรอยด์

       ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อมีลักษณะคล้ายผีเสื้ออยู่ส่วนล่างลำคอด้านหน้า มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งทำหน้าที่ในการเผาผลาญให้เกิดพลังงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การเกิดก้อนที่ต่อมไทรอยด์มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วนประมาณ 4:1 และก้อนที่ต่อมไทรอยด์มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งประมาณ 5-10% ในกรณีที่พบว่ามีก้อนที่ต่อมไทรอยด์อาจทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือทั้งหมดขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของต่อมไทรอยด์

  • การผ่าตัดไทรอยด์โดยส่องกล้องทางปาก

    เป็นทางเลือกหนึ่งในการผ่าตัดซึ่งวิธีนี้ผู้ป่วยจะไม่มีแผลเป็นที่ลำคอเนื่องจากแผลผ่าตัดจะอยู่ที่เยื่อบุช่องช่องปาก การผ่าตัดผ่านกล้องทำให้แพทย์สามารถเห็นรายละเอียดของอวัยวะต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้นเนื่องจากเป็นการมองภาพขยายขนาดบนจอภาพ นอกจากนั้นผู้ป่วยจะมีความปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่าและระยะเวลาการพักฟื้นสั้นกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
preparation of instruments on an operating table using the laparoscopic technique
  • ผู้ป่วยที่เหมาะแก่การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากโดยไร้แผลเป็น ได้แก่
    • ผลการตรวจอัลตราซาวนด์พบว่าก้อนที่ไทรอยด์มีขนาด 4-6 เซนติเมตร
    • มีผลตรวจชิ้นเนื้อยืนยันว่าไม่ใช่มะเร็ง
    • ผู้ป่วยไม่ได้เคยรับการผ่าตัดหรือการฉายแสงที่บริเวณคอหรือคางมาก่อน
    • ผู้ป่วยไม่มีข้อห้ามในการดมยาสลบเพื่อผ่าตัด
  • การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
  1. ก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์, ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด, ตรวจปัสสาวะ, ภาพเอกซเรย์ทรวงอก, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมถ้าจำเป็น
  2. การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดเหมือนการผ่าตัดแบบผู้ป่วยในทั่วไป อ่านรายละเอียดได้จากบทความนี้ “การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดแบบผู้ป่วยใน”
  3. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสภาวะเป็นไทรอยด์เป็นพิษต้องรักษาด้วยยาจนค่าฮอร์โมนคงที่ก่อนการผ่าตัด

 หลังผ่าตัดควรปฏิบัติตัว ดังนี้

  1. หลังผ่าตัดจะมีผ้าก๊อซกดใต้คางประมาณ 1 วัน เพื่อป้องกันเลือดคั่ง
  2. ผู้ป่วยอาจรู้สึกขัดตึงคล้ายมีสิ่งแปลกปลอมบริเวณคอหรือมีเสียงเปลี่ยนไป ซึ่งอาการดังกล่าวมักจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์
  3. ผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะและควรจะรับประทานยาดังกล่าวให้หมด ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดเช่น พาราเซตามอลเมื่อจำเป็นได้
  4. ในวันแรกหลังผ่าตัดจะมีการให้สารละลายทางเส้นเลือด เมื่อผู้ป่วยรับประทานได้ดีพอควรแพทย์จะเอาสายให้น้ำเกลือออก
  5. หลังผ่าตัดจะมีการใส่สายระบายไว้ที่คอ 1 วัน และแพทย์จะถอดสายออกให้หลังจากตรวจว่าแผลผ่าตัดปกติดี
  6. ควรหลีกเลี่ยงการไอหรือเค้นคอแรงๆ, การออกแรงมาก, การเล่นกีฬา, หรือยกของหนักหลังผ่าตัดภายใน 7 วันแรก เพราะอาจทำให้แผลผ่าตัดแยกออกได้
  7. ควรรับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้มหรือขนมปังนิ่มๆ หลีกเลี่ยงการประทานอาหารที่แข็งหรือรสเผ็ดอย่างน้อย 3 วัน
  8. การรักษาขั้นตอนต่อไปขึ้นอยู่กับผลการตรวจชิ้นเนื้อซึ่งพยาธิแพทย์จะรายงานให้แพทย์ที่ทำการผ่าตัดทราบภายใน 3 – 5 วัน
  9. แพทย์จะนัดตัดไหมในช่องปากประมาณ 7 – 10 วัน

 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อแผนกศัลยกรรม

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ 12242 

PI-SUR-34/Rev.1

English topic

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)

ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นถุงเล็กๆอยู่ทางด้านขวาบนของช่องท้องใต้ตับ มีหน้าที่เก็บน้ำดีที่ผลิตจากตับและหลั่งน้ำดีเข้าไปในลำไส้เล็กส่วนต้นในระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร

น้ำดีมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ

  1. กรดน้ำดีซึ่งสำคัญต่อการย่อยและดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันในบริเวณลำไส้เล็ก
  2. สารหลายชนิดถูกขจัดออกจากร่างกายโดยตับผ่านทางน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กและผ่านออกไปทางอุจจาระ

สาเหตุของนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารประกอบที่อยู่ในน้ำดีซึ่งโดยมากมักเกิดจากการมีคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงทำให้เกิดการตกผลึกและรวมตัวกันเป็นก้อนนิ่วซึ่งอาจมีขนาดแตกต่างกันได้ตั้งแต่เป็นเม็ดละเอียดคล้ายทรายจนถึงก้อนใหญ่ขนาดลูกกอล์ฟ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้แก่

  1. เพศหญิงมีโอกาสเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าเพศชาย
  2. น้ำหนักตัวเกิน
  3. อายุมากกว่า 40 ปี
  4. รับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูงเป็นประจำ
  5. ผู้ป่วยเบาหวาน
  6. ภาวะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น เช่นการตั้งครรภ์, การรับประทานยาคุมกำเนิด
  7. การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  8. กินอาหารที่มีใยอาหารต่ำ
  9. ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
  10. การใช้ยาบางอย่าง เช่นยาลดไขมันบางชนิด

อาการของนิ่วในถุงน้ำดี

อาการของนิ่วในถุงน้ำดีอาจเป็นได้ตั้งแต่ไม่มีอาการใดเลยจนถึงอาการรุนแรง ดังนี้

  1. ไม่มีอาการใด : ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีหรือทราบจากการตรวจสุขภาพประจำปีที่มีการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง
  2. อาการปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงข้างขวาและใต้ลิ้นปี่ร่วมกับมีอาการท้องอืดแน่นท้อง โดยเฉพาะหลังกินอาหารประเภทไขมัน
  3. ถุงน้ำดีอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในถุงน้ำดีซึ่งในกรณีเฉียบพลันจะทำให้เกิดอาการไข้สูง, ปวดท้องและกดเจ็บที่ชายโครงด้านขวา, คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นสภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมต้องได้รับการผ่าตัดที่ทันท่วงที
  4. การอุดตันท่อน้ำดีกรณีที่นิ่วในถุงน้ำดีหลุดลงไปอุดตันท่อน้ำดีจะทำให้เกิดการอุดตันของการไหลของน้ำดีทำให้เกิดอาการตัวเหลืองตาเหลืองและมักตามมาด้วยถุงน้ำดีอักเสบทำให้มีไข้สูง ปวดท้องมาก บางรายที่เป็นมากอาจมีถุงน้ำดีเป็นหนองหรือทำให้ตับอ่อนอักเสบซึ่งเป็นสภาวะที่รุนแรงอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เจาะเลือด และทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนซึ่งจะให้ผลแม่นยำและรวดเร็วในการวินิจฉัยนิ่วในถุงน้ำดี

การรักษา

  • นิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการอาจไม่จำเป็นต้องรักษาแต่แนะนำให้ผู้ป่วยหมั่นสังเกตอาการที่ผิดปกติ หากมีอาการที่ผิดปกติให้ปรึกษาแพทย์เพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  • การผ่าตัด การตัดถุงน้ำดี (cholecystectomy) เป็นวิธีการรักษามาตรฐานสำหรับนิ่วในถุงน้ำดีที่ผู้ป่วยมีอาการ ในปัจจุบันนี้การผ่าตัดถุงน้ำดีเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งแพทย์จะเจาะรูขนาดเล็ก 3-4 รอยที่ผนังหน้าท้องและใช้กล้อง laparoscope และอุปกรณ์ผ่าตัดขนาดเล็กและมีด้ามยาวสอดเข้าไปทางรูเหล่านั้นเพื่อทำการผ่าตัด และนำถุงน้ำดีออกมา ส่วนส่วนการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดนั้นมีที่ใช้ในบางกรณีที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องได้ เช่น ผู้ป่วยตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สาม, ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินมาก, หรือผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนหรือโรคร่วมที่เป็นภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัดผ่านกล้อง เช่นถุงน้ำดีอักเสบอย่างรุนแรง

ข้อดีของการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านทางช่องท้อง

  1. อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า เพราะแผลมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิดมาก
  2. แผลขนาดเล็กดูแลง่ายกว่าและมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลขนาดใหญ่รวมถึงแผลเป็นก็มีขนาดเล็กกว่า
  3. ระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่า โดยผู้ป่วยจะอยู่โรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน ซึ่งถ้าผ่าตัดแบบเปิดผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานประมาณ 7-10 วัน
  4. ระยะเวลาการพักฟื้นสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ผู้ป่วยก็กลับไปทำงานและใช้ชีวิตได้ตามปกติในขณะที่การผ่าตัดแบบเปิดใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือน

ยาละลายนิ่ว

ยาละลายนิ่ว (Oral dissolution therapy) ยาละลายนิ่วคือ Ursodeoxycholic acid (Ursodiol) ใช้ได้ผลกับนิ่วบางชนิดเท่านั้นและต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานานหากหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก และนิ่วในถุงน้ำดีที่พบในประชากรไทยส่วนมากมักไม่ตอบสนองในการใช้ยาละลายนิ่ว (dissolution therapy)

ถุงน้ำดีถูกตัดออกไปแล้วมีผลอย่างไรต่อร่างกาย

ถุงน้ำดีเป็นที่เก็บน้ำดีไว้และทำให้น้ำดีเข้มข้น เมื่อโดนตัดถุงน้ำดีในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก น้ำดีที่สร้างจากตับยังเจือจางอยู่บ้างจึงอาจมีท้องอืดระยะแรก หลังจากนั้นเซลตับจะปรับตัวสร้างน้ำดีที่เข้มข้นใกล้เคียงกับตอนมีถุงน้ำดีอยู่ได้

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อ แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า 
หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ 12242 

PI-SUR-17 / Rev.2

คำแนะนำ หลังการเสริมหน้าอก (นพ.พีระ) ภาษาจีน

丰胸手前后注意事

1.提前至少7天做手术准备的身体检查、乳腺癌检查

2.至少三周禁止服用营养品及所有维生素

3.术后需休工至少5-7天

4.禁止化妆, 胸部禁止涂抹润肤乳,禁止手脚美甲,禁止接发,禁止种假睫毛

1.两个月一直穿无钢圈运动内衣

2.术后两个月禁止运动,禁止举重活,禁止过度使用胸部肌肉

3.可沐浴,无需清洗伤口 (防水贴),尽量避免伤口直接碰水直至医生复查日

4.按医嘱吃完抗生素药

5.术后两周避免开车

6.避免生冷食物、重辣重咸口味,可以吃鸡蛋

7.禁止酒精类饮品

8.可正常平躺或侧躺睡觉

9.在1-3个月胸部可能会肿胀痛或发麻

如有疑问或详情咨询请联系

拉玛九医院整形美容皮肤科 B栋9楼 电话热线:1270 转20901,20902

PI-SPC-16-CH

Please click here for English

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก

  1. การอาบน้ำและการดูแลแผลผ่าตัด
    • วันถัดไปหลังผ่าตัดท่านสามารถทำความสะอาดร่างกายโดยให้อาบน้ำฟอกสบู่ได้ตามปกติที่ช่วงครึ่งล่างของร่างกายและเช็ดตัวที่ช่วงครึ่งบนของร่างกาย ระวังอย่าให้น้ำถูกแผลผ่าตัดและงดใช้สบู่บริเวณแผลผ่าตัด
    • ถ้าน้ำถูกแผลซับให้แห้งโดยเร็ว ถ้าแผลผ่าตัดเปียกแฉะให้เปลี่ยนแผ่นปิดแผล

2. ไม่ต้องแกะแผ่นปิดแผลกันน้ำจนกว่าจะถึงวันที่นัด

3. หากเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านแผลที่รักแร้จะมีผ้าพันไว้ที่หน้าอก สามารถถอดผ้าพันหน้าอกออกได้ตอนเช็ดตัวทำความสะอาดร่างกายซึ่งเมื่อเสร็จแล้วให้ใส่ผ้าพันหน้าอกกลับเข้าไปใหม่่ 

4. การเปลี่ยนจากท่านอนเป็นนั่ง: ให้นอนตะเเคงแล้วค่อยๆดันตัวขึ้นเพื่อลดการเกร็งหน้าอก 

5. ในช่วงหลังออกจากโรงพยาบาลกลับไปที่บ้านแล้ว, ท่านยังไม่ต้องสวม support bra 1 (จนถึงวันที่แพทย์นัดตัดไหม) เพราะในช่วงนี้หน้าอกยังมีอาการบวมอยู่ 

6. ระหว่างช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดท่านควรพักผ่อน,งดการออกแรงที่ไม่จำเป็น 

7. ท่านจะได้รับการนัดตรวจแผลและตัดไหม 7 วันหลังออกจากโรงพยาบาล 

การดูแลแผลหลังตัดไหม 

  1. หลังตัดไหม 1 วัน  เจ้าหน้าที่จะปิดผ้าก๊อซไว้ที่เเผล ห้ามให้น้ำโดนแผล วันรุ่งขึ้นตอนเย็นท่านสามารถเเกะผ้าก๊อซออกได้  ในช่วง 3 วันเเรกสามารถอาบน้ำได้แต่อย่าให้น้ำรดลงบนแผลโดยตรงและไม่ถูสบู่บริเวณแผล หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วใช้ผ้าเช็ดตัวสะอาดซับแผลให้เเห้ง ไม่ต้องปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลแล้ว 
  1. หลังตัดไหม 1 สัปดาห์แรกยังไม่ต้องทายาหรือติดเเผ่นเจลลดแผลเป็น (scar gel sheet) เจ้าหน้าที่จะติดต่อท่านภายหลังเพื่อส่งวิธีการทายาและแผ่นเจลให้  
  1. หลังตัดไหม 3 สัปดาห์ ท่านสามารถเริ่มการบริหารหน้าอกได้ เจ้าหน้าที่จะติดต่อท่านส่งคลิปการบริหารหน้าอกให้ 
  2. ให้งดกิจกรรมต่อไปนี้ 
กิจกรรม (Activities)ระยะเวลาที่ต้องงดหลังผ่าตัด 
ขับรถ 2-4 สัปดาห์ 
ยกของหนัก 1 กก.ขึ้นไป 1-2 เดือน 
แช่น้ำในอ่างหรือสระว่ายน้ำ 2-3 เดือน 
ออกกำลังกายทุกชนิด 6 เดือน 
ว่ายน้ำหรือดำน้ำ 6 เดือน 
นอนคว่ำ 6 เดือน 

การใส่เสื้อชั้นในพยุงหน้าอกหลังผ่าตัด ( Post surgery support bra)

  1. ให้เริ่มใส่ support bra ได้ในวันแรกหลังจากตัดไหมแล้ว ให้ใส่แบบหลวมๆก่อน 
  1. ในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากตัดไหม ให้ใส่ support bra ในเวลานอนทุกคืนเพื่อพยุงทรงหน้าอก 
  1. ในช่วงกลางวัน 3 เดือนแรกให้ใส่ support bra หรือเสื้อชั้นในที่ไม่มีโครงลวด ส่วนเสื้อชั้นในที่มีโครงสามารถใช้ได้หลัง 3 เดือนไปแล้ว 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลพระรามเก้า  
หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ 20901 ,  20902

PI-SPC-16

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดตา

วันแรกหลังการผ่าตัด

หากตาข้างที่ผ่าตัดได้รับการปิดตาผนึกแน่น, ไม่ต้องเปิดตาเพื่อใช้ยาหยอดตาใดๆจนกว่าจะถึงกำหนดนัดเปิดตาและตรวจแผลที่โรงพยาบาล ในวันนัดกรุณานำยาและชุดกระเป๋าดูแลดวงตาที่ได้รับในวันผ่าตัดมาด้วยทั้งหมด

หากตาข้างที่ผ่าตัดได้รับการปิดด้วยผ้าก๊อซ ท่านสามารถเปิดตาเพื่อหยอดยาหยอดตาได้(หากแพทย์สั่ง)

การใช้ยาหยอดตา

กรณีที่แพทย์สั่งยาหยอดตาหรือยาป้ายตาหลังการผ่าตัดให้ดูวิธีการใช้ยาบนฉลากยาที่เภสัชกรจัดทำให้

โปรดปฏิบัติดังนี้ เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือตามที่แพทย์แนะนำ

ควรพักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงการใช้สายตาโดยเฉพาะการจ้องจอคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือมากเกินไป

ห้ามล้างหน้า ในการทำความสะอาดหน้าให้ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดพอหมาดเช็ดใบหน้าโดยเว้นรอบดวงตาในการทำความสะอาดใบหน้า

การสระผมให้ระมัดระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าตาอย่างเด็ดขาด ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยท่านอาจรับการสระผมที่ร้านทำผมหรือให้ญาติหรือเพื่อนช่วยสระผมให้

งดแต่งหน้า งดทาครีมรอบดวงตา

งดทำกิจกรรมที่มีฝุ่นควันหรือไปในสถานที่มีฝุ่นควัน

งดทำอาหาร และงดรับประทานอาหารที่จะมีควัน เช่น อาหารปิ้งย่าง หมูกระทะ หม้อไฟ

ให้นอนหงายเป็นหลัก หากนอนตะแคงต้องระมัดระวังให้ดวงตาข้างที่ผ่าตัดตะแคงขึ้นด้านบน และใส่ฝาครอบตาก่อนนอนทุกคืนเพื่อป้องกันการขยี้ตาขณะหลับ

ใส่แว่นป้องกันตาตลอดเวลาเมื่อตื่นนอน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ น้ำ ฝุ่น ลม เข้าตา

ถ้าท่านออกไปกลางแจ้งควรใส่แว่นกันแดดตลอดเวลาเพื่อลดการระคายเคืองตาจากแสงแดด

งดกิจกรรมที่จะทำให้ความดันในดวงตาสูงขึ้น 

  1. งดออกกำลังกาย
  2. งดยกของหนัก
  3. งดการเบ่งแรงๆ
  4. แปรงฟันอย่างระมัดระวังไม่ให้กระตุ้นการอาเจียน

กิจกรรมที่ทำได้ตามปกติ

รับประทานอาหารและยาประจำตามปกติ

การอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ทำได้ตามสมควรแต่ไม่ควรใช้สายตาเป็นเวลานานเกินไป

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์จักษุ

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ 20831, 20832 

PI-EYE-08

English topic

error: Content is protected !!