เส้นฟอกเลือด (vascular access)

ผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดเป็นประจำซึ่งจะต้องมีช่องทางสำหรับต่อเครื่องฟอกเลือดเข้ากับระบบไหลเวียนเลือดของผู้ป่วย ช่องทางนี้เรียกว่า “เส้นฟอกเลือด (vascular access)”

ชนิดของเส้นฟอกเลือด (vascular access)

แบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆได้แก่

1.AV Fistula : ใช้หลอดเลือดดำของผู้ป่วยมาต่อเข้ากับเส้นเลือดแดงที่แขน

2.AV bridge graft : ใช้หลอดเลือดเทียมเชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำของผู้ป่วย

การดูแลหลังผ่าตัดใส่เส้นฟอกเลือด vascular access

1. รักษาความสะอาดและระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำหรือเปื้อนสกปรก  ทำแผล(wound dressing) ตามที่แพทย์สั่ง

2. สังเกตอาการผิดปกติบริเวณแผลผ่าตัด เช่น อาการอักเสบ, มีเลือดซึมออกมากหรือมีหนองรวมถึงอาการไข้สูง หากมีอาการผิดปกติใดๆให้รีบติดต่อแพทย์ที่ดูแลหรือมารพ.ทันที

3. เวลานอนยกแขนข้างที่ผ่าตัดให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อช่วยลดอาการบวม

4. อย่านอนทับแขนหรืองอแขนข้างที่ผ่าตัด

5. มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจสภาพเส้นฟอกไต(vascular access)หลังการผ่าตัด

6. เริ่มบริหารเส้นฟอกเลือดทันทีหลังผ่าตัด 3-4 วัน  หรือเมื่อหายปวดแผล 

1. บริหารแขนที่มีเส้นฟอกเลือด (vascular access)

ทำทุกวันโดยการบีบลูกบอลยางตามวิธีด้านล่าง ทำอย่างน้อยวันละ 400 – 500 ครั้ง หรือมากกว่านั้นได้เพื่อช่วยให้เส้นเลือด(vascular access) แข็งแรงและมีประสิทธิภาพดีขึ้น

2. สังเกตการไหลเวียนของเลือดในเส้น vascular access

โดยแนบหูของท่านที่บริเวณรอยแผลผ่าตัด จะได้ยินเสียงฟู่ๆคล้ายการไหลของน้ำในท่อ และให้ใช้มือคลำบริเวณรอยแผลผ่าตัดซึ่งจะสัมผัสการสั่นสะเทือนแบบเดียวกัน
หากฟังไม่ได้ยินเสียง, เสียงเบาลงหรือเปลี่ยนไป หรือมีเสียงดังตุ้บๆ แบบชีพจร ต้องรีบมารพ.ทันที


 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ12210, 12223 

PI-NHD-11

ลดเค็มลดโรค

การกินเค็มเกินไปทำให้ปริมาณโซเดียมในร่างกายสูงส่งผลให้ความดันโลหิตสูง, และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในกลุ่ม NCD หลายโรค เช่น โรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดสมอง, และโรคไตวายเรื้อรัง ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันไม่ควรเกิน 2,300 มิลลิกรัมซึ่งเท่ากับเกลือแกงประมาณ 1 ช้อนชา แต่จากข้อมูลของ สสส. พบว่าชาวไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 3,400 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งสูงกว่าปริมาณที่ควรจะเป็นมาก ดังนั้นการลดอาหารเค็มให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังหลายโรค

ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุง

ปริมาณโซเดียมในอาหารไทย


การลดโซเดียม

  1. เลือกกินอาหารสดตามธรรมชาติ
  2. เลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง
  3. ปรับพฤติกรรมการบริโภค ลดการใช้เครื่องปรุง เช่น ไม่ปรุงเพิ่ม ลดซดน้ำซุป/น้ำแกง
  4.  ลดอาหารปิ้งย่าง –บุฟเฟต์ ,ลดปริมาณน้ำจิ้ม
  5. อ่านฉลากโภชนาการ ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ12210, 12223 

PI-MED-47

English topic

error: Content is protected !!