การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดแบบผู้ป่วยใน

การผ่าตัดจะต้องมีการให้ยาที่ทำให้หลับเพื่อระงับความรู้สึกไม่ให้เจ็บปวด ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเพื่อให้การผ่าตัดทำได้อย่างปลอดภัยและราบรื่นดังนี้

  1. อาบน้ำสระผมตัดเล็บให้สั้นภายใน 24 ชั่วโมงก่อนหัตถการเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ

2. งดน้ำและอาหารรวมถึงเครื่องดื่มทุกชนิดและยารับประทานอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนหัตถการ


3.เช้าวันทำหัตถการให้งดแต่งหน้าและควรล้างทำความสะอาดใบหน้าก่อนหัตถการเพื่อให้ไม่บดบังการสังเกตลักษณะสีผิวและการไหลเวียนเลือดของวิสัญญีแพทย์


4.งดใส่ขนตาปลอม, ผมปลอม หากมีการต่อผมชนิดติดด้วยคลิปโลหะต้องถอดออกก่อน ถ้าใช้สีทาเล็บต้องล้างออก ถ้าใส่เล็บปลอมต้องถอดออกก่อนหัตถการ

5.งดใส่เครื่องประดับทุกประเภทมาโรงพยาบาล อย่านำของมีค่ามาโรงพยาบาล

6.หากมีอุปกรณ์หรือเครื่องประดับที่เจาะร่างกาย เช่น เครื่องประดับโลหะที่ลิ้น สะดือ หรือโลหะที่สวมใส่ติดกับร่างกายเช่นพระเครื่องหรือตะกรุดต้องถอดออกเพื่อป้องกันการไหม้

7.หากมีฟันปลอมแบบถอดได้ เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ (เช่น Invisalign) ต้องถอดออกก่อนการทำหัตถการ (แนะนำว่าไม่ควรนำมาโรงพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย)

8.งดใส่เครื่องประดับทุกประเภทมาโรงพยาบาลและกรุณาไม่นำของมีค่าใดๆมาโรงพยาบาลเพื่อลดความกังวลของท่านและป้องกันความเสี่ยงต่อการสูญหาย


9. ห้ามสวมคอนแทคเลนส์ในวันทำหัตถการเนื่องจากจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกระจกตาระหว่างกระบวนการให้ยาระงับความรู้สึก หากท่านมีปัญหาการมองเห็นให้สวมแว่นมาในวันหัตถการ



  • กรุณาแจ้งให้วิสัญญีแพทย์ทราบหากมีโรคประจำตัว, ยาที่ใช้ประจำ, การแพ้ยา, และปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการผ่าตัดครั้งก่อนๆ(หากมี)
  • กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านมีภาวะดังต่อไปนี้
    • อาการตาหลับไม่สนิทหรือเคยผ่าตัดดวงตามาก่อนเพื่อทำการป้องกันภาวะตาแห้งและกระจกตาถลอกระหว่างการระงับความรู้สึก
    • การหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือใช้เครื่องพยุงการหายใจระหว่างนอนหลับ (CPAP)
    • มีภาวะการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไข้หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบปอดบวมก่อนทำหัตถการในระยะ 2 สัปดาห์

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อ แผนกห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพระรามเก้าหมายเลข
โทรศัพท์ 1270 ต่อแผนกห้องพักฟื้น 12430

PI-PAU-05

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดหรือส่องกล้องทางเดินอาหารแบบผู้ป่วยนอก

การผ่าตัดหรือการส่องกล้องทางเดินอาหารซึ่งต่อไปในบทความนี้จะเรียกว่า “หัตถการ (procedure)” จะต้องมีการให้ยาที่ทำให้หลับเพื่อระงับความรู้สึกไม่ให้เจ็บปวด ในกรณีที่เป็นการทำหัตถการแบบผู้ป่วยนอกซึ่งผู้ป่วยมาจากบ้านเพื่อรับการทำหัตถการและเดินทางกลับบ้านเมื่อหัตถการเสร็จสิ้นและผู้ป่วยได้ผ่านระยะพักฟื้นเป็นเวลาสั้นๆ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเพื่อให้การผ่าตัดทำได้อย่างปลอดภัยและราบรื่นดังนี้

  1. อาบน้ำสระผมตัดเล็บให้สั้นภายใน 24 ชั่วโมงก่อนหัตถการเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ

2. งดน้ำและอาหารรวมถึงเครื่องดื่มทุกชนิดและยารับประทานอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนหัตถการ


3.เช้าวันทำหัตถการให้งดแต่งหน้าและควรล้างทำความสะอาดใบหน้าก่อนหัตถการเพื่อให้ไม่บดบังการสังเกตลักษณะสีผิวและการไหลเวียนเลือดของวิสัญญีแพทย์


4.งดใส่ขนตาปลอม, ผมปลอม หากมีการต่อผมชนิดติดด้วยคลิปโลหะต้องถอดออกก่อน ถ้าใช้สีทาเล็บต้องล้างออก ถ้าใส่เล็บปลอมต้องถอดออกก่อนหัตถการ

5.งดใส่เครื่องประดับทุกประเภทมาโรงพยาบาล อย่านำของมีค่ามาโรงพยาบาล

6.หากมีอุปกรณ์หรือเครื่องประดับที่เจาะร่างกาย เช่น เครื่องประดับโลหะที่ลิ้น สะดือ หรือโลหะที่สวมใส่ติดกับร่างกายเช่นพระเครื่องหรือตะกรุดต้องถอดออกเพื่อป้องกันการไหม้

7.หากมีฟันปลอมแบบถอดได้ เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ (เช่น Invisalign) ต้องถอดออกก่อนการทำหัตถการ (แนะนำว่าไม่ควรนำมาโรงพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย)

8.งดใส่เครื่องประดับทุกประเภทมาโรงพยาบาลและกรุณาไม่นำของมีค่าใดๆมาโรงพยาบาลเพื่อลดความกังวลของท่านและป้องกันความเสี่ยงต่อการสูญหาย


9. ห้ามสวมคอนแทคเลนส์ในวันทำหัตถการเนื่องจากจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกระจกตาระหว่างกระบวนการให้ยาระงับความรู้สึก หากท่านมีปัญหาการมองเห็นให้สวมแว่นมาในวันหัตถการ


10. งดขับรถมาโรงพยาบาลเองในวันทำหัตถการ


11.ในวันทำหัตถการต้องมีผู้มาด้วยซึ่งสามารถดูแลช่วยเหลือและพาผู้ป่วยกลับบ้านได้



  • กรุณาแจ้งให้วิสัญญีแพทย์ทราบหากมีโรคประจำตัว, ยาที่ใช้ประจำ, การแพ้ยา, และปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการผ่าตัดครั้งก่อนๆ(หากมี)
  • กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านมีภาวะดังต่อไปนี้
    • อาการตาหลับไม่สนิทหรือเคยผ่าตัดดวงตามาก่อนเพื่อทำการป้องกันภาวะตาแห้งและกระจกตาถลอกระหว่างการระงับความรู้สึก
    • การหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือใช้เครื่องพยุงการหายใจระหว่างนอนหลับ (CPAP)
    • มีภาวะการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไข้หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบปอดบวมก่อนทำหัตถการในระยะ 2 สัปดาห์

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อ แผนกห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพระรามเก้า
หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อแผนกห้องพักฟื้น 12430

PI-PAU-04

เส้นฟอกเลือด (vascular access)

ผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดเป็นประจำซึ่งจะต้องมีช่องทางสำหรับต่อเครื่องฟอกเลือดเข้ากับระบบไหลเวียนเลือดของผู้ป่วย ช่องทางนี้เรียกว่า “เส้นฟอกเลือด (vascular access)”

ชนิดของเส้นฟอกเลือด (vascular access)

แบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆได้แก่

1.AV Fistula : ใช้หลอดเลือดดำของผู้ป่วยมาต่อเข้ากับเส้นเลือดแดงที่แขน

2.AV bridge graft : ใช้หลอดเลือดเทียมเชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำของผู้ป่วย

การดูแลหลังผ่าตัดใส่เส้นฟอกเลือด vascular access

1. รักษาความสะอาดและระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำหรือเปื้อนสกปรก  ทำแผล(wound dressing) ตามที่แพทย์สั่ง

2. สังเกตอาการผิดปกติบริเวณแผลผ่าตัด เช่น อาการอักเสบ, มีเลือดซึมออกมากหรือมีหนองรวมถึงอาการไข้สูง หากมีอาการผิดปกติใดๆให้รีบติดต่อแพทย์ที่ดูแลหรือมารพ.ทันที

3. เวลานอนยกแขนข้างที่ผ่าตัดให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อช่วยลดอาการบวม

4. อย่านอนทับแขนหรืองอแขนข้างที่ผ่าตัด

5. มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจสภาพเส้นฟอกไต(vascular access)หลังการผ่าตัด

6. เริ่มบริหารเส้นฟอกเลือดทันทีหลังผ่าตัด 3-4 วัน  หรือเมื่อหายปวดแผล 

1. บริหารแขนที่มีเส้นฟอกเลือด (vascular access)

ทำทุกวันโดยการบีบลูกบอลยางตามวิธีด้านล่าง ทำอย่างน้อยวันละ 400 – 500 ครั้ง หรือมากกว่านั้นได้เพื่อช่วยให้เส้นเลือด(vascular access) แข็งแรงและมีประสิทธิภาพดีขึ้น

2. สังเกตการไหลเวียนของเลือดในเส้น vascular access

โดยแนบหูของท่านที่บริเวณรอยแผลผ่าตัด จะได้ยินเสียงฟู่ๆคล้ายการไหลของน้ำในท่อ และให้ใช้มือคลำบริเวณรอยแผลผ่าตัดซึ่งจะสัมผัสการสั่นสะเทือนแบบเดียวกัน
หากฟังไม่ได้ยินเสียง, เสียงเบาลงหรือเปลี่ยนไป หรือมีเสียงดังตุ้บๆ แบบชีพจร ต้องรีบมารพ.ทันที


 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ12210, 12223 

PI-NHD-11

ระยะเวลางดประทานอาหารก่อนผ่าตัด

ผู้ป่วยที่จะเข้าผ่าตัดจะได้รับการระงับความรู้สึกเพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บปวดในระหว่างผ่าตัด  กรณีที่เป็นการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายผู้ป่วยจะต้องมีการงดรับประทานอาหารทางปากก่อนการผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสำรอกอาหารและสำลักเข้าปอด

  • ระยะเวลางดประทานอาหารก่อนผ่าตัดขึ้นกับชนิดของอาหารดังนี้

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อ แผนกห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพระรามเก้าหมายเลข
โทรศัพท์ 1270 ต่อแผนกห้องพักฟื้น 12430

PI-PAU-06

error: Content is protected !!