คำแนะนำ หลังการเสริมหน้าอก (นพ.พีระ) ภาษาจีน

丰胸手前后注意事

1.提前至少7天做手术准备的身体检查、乳腺癌检查

2.至少三周禁止服用营养品及所有维生素

3.术后需休工至少5-7天

4.禁止化妆, 胸部禁止涂抹润肤乳,禁止手脚美甲,禁止接发,禁止种假睫毛

1.两个月一直穿无钢圈运动内衣

2.术后两个月禁止运动,禁止举重活,禁止过度使用胸部肌肉

3.可沐浴,无需清洗伤口 (防水贴),尽量避免伤口直接碰水直至医生复查日

4.按医嘱吃完抗生素药

5.术后两周避免开车

6.避免生冷食物、重辣重咸口味,可以吃鸡蛋

7.禁止酒精类饮品

8.可正常平躺或侧躺睡觉

9.在1-3个月胸部可能会肿胀痛或发麻

如有疑问或详情咨询请联系

拉玛九医院整形美容皮肤科 B栋9楼 电话热线:1270 转20901,20902

PI-SPC-16-CH

Please click here for English

รากฟันเทียม

การสูญเสียฟันไม่ว่าจะด้วยอุบัติเหตุหรือจากโรค,หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อการเคี้ยวและการสบฟันทำให้ผู้ป่วยมีอาการระคายเคืองและเจ็บ, ในระยะยาวจะส่งผลการสูญเสียมวลกระดูกขากรรไกร จึงมีการคิดค้นระบบรากฟันเทียม (Dental Implant system) เพื่อทดแทนการสูญเสียฟันธรรมชาติ

รากเทียมประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ

  1. รากเทียม (Fixture) ทำมาจากไทเทเนียมมีลักษณะคล้ายรากฟันจริงซึ่งจะถูกผ่าตัดฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรและสามารถยึดติดกับเนื้อเยื่อได้อย่างแนบแน่นโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบหรือผลข้างเคียงใดๆ
  2. เดือยรับครอบฟัน (Abutment) : หลังจากผ่าตัดฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกรแล้วจะต้องรอเวลาประมาณ 4-6 เดือนเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดีก่อน หลังจากนั้นจึงจะใส่เดือยรับครอบฟันลงบนรากเทียมสำหรับสวมครอบฟัน
  3. ครอบฟัน (Crown) ทำมาจาก porcelain ให้มีรูปร่างลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ ใช้สวมครอบลงบนเดือยรับครอบฟันทำให้ผู้ป่วยสามารถเคี้ยวและมีการสบฟันปกติ

ข้อดีของรากฟันเทียม

  1. ทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียไปโดยมีลักษณะและการใช้งานเหมือนธรรมชาติมากที่สุด
  2. ป้องกันการสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันข้างเคียงที่เหลืออยู่
  3. ในกรณีที่ใส่รากฟันเทียมเป็นฐานของฟันปลอมชนิดถอดได้, จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการยึดติดของฟันปลอม
  4. การฝังรากเทียมและใส่ครอบฟันเสร็จในครั้งเดียว ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาในการรักษาหลายครั้ง
  5. ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทันที
  6. ความรู้สึกในการใช้งานและลักษณะความสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ
  7. ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียงเพื่อใส่สะพานฟัน

ข้อเสีย

  1. การทำรากฟันเทียมมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากต้นทุนค่าอุปกรณ์และเครื่องมือมีราคาสูงมาก แต่หากเปรียบเทียบในระยะยาวแล้วการทำรากฟันเทียมมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาหรือแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่ต่ำกว่าการใช้ฟันปลอมประเภทอื่นๆ
  2. ลักษณะความสวยงาม ในบางตำแหน่งเช่นฟันหน้าด้านบนการทำรากเทียมอาจทำให้ดูสวยงามได้ยากเมื่อเปรียบเทียบกับฟันปลอมชนิดติดแน่นประเภทอื่น โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีริมฝีปากค่อนข้างสั้นหรือยิ้มเห็นแนวเหงือกหรือมีเหงือกบาง
  3. ต้องมีการผ่าตัดและให้ยาระงับความรู้สึก
  4. ระยะเวลา: การทำรากเทียมจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 4 – 6 เดือน ถึงแม้จะมีบางระบบสามารถย่นระยะเวลาลงมาแล้วก็ตามแต่ก็มีหลายๆกรณีที่ยังต้องใช้ระยะเวลานาน ผู้ป่วยบางคนที่ใจร้อนอาจจะไม่ชอบก็จำเป็นต้องไปทำเป็นฟันปลอมประเภทอื่นต่อไป
  5. ความต้านทานต่อเชื้อโรค ถึงแม้รากเทียมจะมีลักษณะใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากแต่ก็มีความต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำกว่าจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาสุขอนามัยช่องปากให้ดีเพราะถ้ามีการติดเชื้อและอักเสบของกระดูกรอบๆรากฟันเทียมแล้วอัตราการละลายตัวของกระดูกจะเร็วกว่าและรุนแรงกว่าที่เกิดในฟันธรรมชาติ

ข้อจำกัด

  1. การทำรากฟันเทียมไม่สามารทำได้หากสภาพเหงือกหรือกระดูกขากรรไกรของผู้ป่วยไม่เหมาะสมหรือผู้ป่วยมีโรคทางระบบบางชนิดเช่น โรคเบาหวานที่ยังไม่ควบคุม เป็นต้น

ทางเลือกอื่นในการรักษา

  1. สะพานฟันติดแน่น
  2. ฟันปลอมชนิดถอดได้

ปัญหาที่อาจพบในการฝังรากฟันเทียม

  1. รากเทียมฟันไม่สามารถยึดติดกับกระดูกหลังจากการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม : เกิดจากการเจาะรูที่กระดูกขากรรไกรหลวมเกินไปทำให้รากเทียมไม่มีความเสถียรและมีการขยับทำให้เนื้อกระดูกจึงไม่มาเกาะตามที่ควรจะเป็นหรือเกิดจากภาวะกระดูกพรุนของผู้ป่วย
  2. เเหงือกร่นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด, เกิดจากการละลายตัวของกระดูกหลังจากฝังรากเทียมไป ถ้ามีอาการมากผู้ป่วยอาจต้องรับการผ่าตัดแก้ไข

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ โรงพยาบาลพระรามเก้า  

หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ แผนกทันตกรรม 21001-2

65-108

PI-NDT-03

01-2

ความผิดปกติการนอนหลับ การนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

“นอนเยอะแต่ยังรู้สึกนอนไม่พอ ง่วงทั้งวัน”
“นอน ๆ อยู่แล้วสะดุ้งตอนกลางคืนบ่อย ๆ”
“นั่งทำงานแล้วเผลอหลับบ่อย ๆ”
“นอนตื่นมาแล้วมีรอยฟกช้ำโดยจำไม่ได้ว่าทำอะไรมา”
“หลับในระหว่างขับรถจนเกิดอุบัติเหตุ”

หลาย ๆ คนอาจมีอาการเหล่านี้ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติในการนอนหลับซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ

การนอนหลับมีความสำคัญต่อสุขภาพอย่างไร

หัวใจและระบบการไหลเวียนเลือด

ในระหว่างการนอนหลับ, ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจจะลดต่ำลงกว่าในช่วงที่ตื่นเป็นการทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนเลือดได้พักผ่อน จากการศึกษาวิจัยพบว่าการนอนหลับไม่เพียงพอเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

ระบบฮอร์โมน

การหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดเในร่างกายเกิดขึ้นในเวลากลางคืนระหว่างการนอนหลับ การอดนอนส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเหล่านี้ซึ่งส่งให้มีการทำงานที่แปรปรวนของร่างกายและการเกิดโรคทางเมตาบอลิคหลายโรคในระยะยาว

การเผาผลาญ

การนอนไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของระบบการเผาผลาญของร่างกายซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแปรปรวนของระบบฮอร์โมนดังที่กล่าวมาแล้ว มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับไม่เพียงพออย่างเรื้อรังเกี่ยวข้องกับภาวะต่อไปนี้ได้แก่

  • ความแปรปรวนของฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว เช่น Leptin, ghrelin ดังนั้นผู้ที่อดนอนเรื้อรังมักมีปัญหาเกี่ยวกับการกินเช่นกินมากเกินไปหรือไม่อยากอาหาร
  • ทำให้สมรรถภาพทางกายและสมองลดลง
  • การตอบสนองต่ออินซูลินลดลงซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน, หรือในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วก็จะทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยากขึ้น
  • ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกลุ่ม metabolic syndrome มากขึ้น

การทำงานของสมอง

คลื่นสมองจะมีความสงบในขณะนอนหลับทำให้มีการพักตัวของเซลล์ประสาทซึ่งส่งผลดีต่อความคิดและความจำ การอดนอนจึงส่งผลในทางตรงกันข้ามคือทำให้ความสามารถในการคิดและตัดสินใจบกพร่องลง, ความจำไม่ดี

ความผิดปกติของการนอน

ความผิดปกติของการนอนที่พบบ่อยได้แก่ การนอนไม่หลับ, นอนกรน, การหยุดหายใจขณะหลับ, กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless leg syndrome)

Sleep test or sleep study

Sleep test  (Polysomnography) คือการตรวจความผิดปกติของการนอนหลับโดยการติดอุปกรณ์หลายชนิดบนร่างกายเพื่อตรวจวัดคลื่นสมอง, ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน, การหายใจ, คลื่นหัวใจ, การเคลื่อนไหวของขากรรไกร, การเคลื่อนไหวของแขนขา การตรวจนี้ส่วนใหญ่ทำในหน่วยความผิดปกติของการนอนหลับภายใต้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับและทีมนักเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญด้านการนอน

sleep test คือ

การตรวจการนอนหลับ (sleep test) มีประโยชน์อย่างไร?

  1. การวินิจฉัยความผิดปกติของการนอนหลับ ปัจจุบันถือว่าการตรวจ sleep test เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐานสากล (gold standard) ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับเช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea : OSA) การกระตุกของกล้ามเนื้อระหว่างนอนหลับรวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ
  2. การวางแผนการรักษา แพทย์สามารถนำผลการตรวจไปวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมเช่น ใช้ผลการตรวจในการตั้งค่าความดันลมที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เพื่อช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ, หรือใช้ผลการตรวจในการเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea : OSA)
  3. การติดตามการรักษา เช่น การติดตามผลภายหลังการใช้เครื่องมือในช่องปาก (oral appliances) ในผู้ที่มีโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea : OSA)

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ sleep test?

หากมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้, ท่านควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ sleep test

  • นอนกรน
  • มีความกระสับกระส่ายระหว่างนอนหลับ
  • หายใจลำบากหรือสงสัยว่ามีการหยุดหายใจเป็นพักๆ
  • ง่วงนอนช่วงกลางวันมากผิดปกติทั้งที่นอนหลับกลางคืนเป็นเวลานาน
  • ตื่นเช้าอย่างไม่สดชื่น, มีอาการปวดหัวหลังตื่นนอน และรู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอนบ่อย ๆ
  • มีพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติ เช่น แขนขากระตุกระหว่างนอนหลับ, กัดฟัน, นอนละเมอ หรือสะดุ้งตื่น
  • นอนหลับยากหรือรู้สึกนอนหลับได้ไม่เต็มที่บ่อย ๆ มากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

การประเมินความง่วงนอนที่ผิดปกติสามารถทำได้อย่างชัดเจนด้วยแบบสอบถามที่เรียกว่า Epworth Sleepiness Scale (ESS)

ท่านสามารถคลิกทำแบบทดสอบได้ที่นี่

ตรวจการนอนหลับ

โรคหรือสภาวะที่มีความเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจ sleep test

  • ผู้ที่เสี่ยงจะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน
  • ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะชักขณะนอนหลับหรือเป็นโรคลมหลับ (narcolepsy)
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ยังรักษาไม่ได้
ทำ sleep test

มีการตรวจวัดอะไรบ้างใน sleep test

ในการตรวจ sleep test จะมีการติดอุปกรณ์เฉพาะต่างๆสำหรับใช้บันทึกการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับได้แก่ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด , การหายใจเข้าออกทั้งทางจมูกและทางปาก, คลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การขยับของกล้ามเนื้อตา, แขนขาและกราม, รวมทั้งบันทึกวิดีโอเพื่อสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างนอนหลับ

เมื่อตรวจ sleep test เสร็จแล้วแพทย์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และแปลผลการตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่าง ๆ พร้อมทั้งประเมินความรุนแรงของปัญหาต่างๆ เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ, ระดับออกซิเจนในเลือดขณะหลับ, พฤติกรรมที่ผิดปกติเช่นการกระตุกของขาขณะหลับ, การละเมอ, การนอนไม่หลับ และความผิดปกติของการนอนหลับอื่น ๆ

การเตรียมตัวก่อนตรวจ sleep test

  1. อาบน้ำและสระผมให้สะอาดก่อนมาตรวจ sleep test อย่าใส่น้ำมันหรือครีมใด ๆ มาด้วย เพราะอาจรบกวนการติดอุปกรณ์การตรวจ
  2. งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ในวันที่จะมาตรวจ sleep test
  3. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในช่วงกลางวันของวันที่จะมาตรวจเพื่อให้สามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ชัดเจน
  4. นำยาทุกชนิดที่รับประทานอยู่ติดตัวมาด้วย (หากมีข้อสงสัยเรื่องยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจ)
  5. การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ จะใช้เวลาประมาณ 45 – 60 นาทีและทำโดยเจ้าหน้าที่ประจำห้องตรวจ Sleep test
  6. กรณีที่ท่านมีข้อสงสัยใดๆให้ติดต่อสอบถามและตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

สรุป

ปัญหาการนอนเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเพราะปัญหาการนอนไม่ใช่มีแค่การนอนไม่หลับหรือนอนไม่พอ, แต่อาจมีภาวะอื่นเช่นการหยุดหายใจขณะหลับซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ความสำคัญ เช่น โรคความดันสูง โรคหัวใจ, ความดันในปอดสูง, โรคหลอดเลือดสมอง , และสุขภาพจิตที่พร่องลง

นอกจากนั้นคุณภาพการนอนที่ไม่ดียังอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานซึ่งจะสร้างปัญหาต่อหน้าที่การงาน

ดังนั้นการตรวจ sleep test จะช่วยให้ทราบถึงความผิดปกติของการนอนหลับได้อย่างชัดเจนทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันผลเสียต่อสุขภาพที่อาจตามมาจากปัญหาการนอน

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ มายด์เซ็นเตอร์และศูนย์นิทรารมย์

โรงพยาบาลพระรามเก้า หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อมายด์เซ็นเตอร์และศูนย์นิทรารมย์ 20921-2

PI-MIN-06

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก

  1. การอาบน้ำและการดูแลแผลผ่าตัด
    • วันถัดไปหลังผ่าตัดท่านสามารถทำความสะอาดร่างกายโดยให้อาบน้ำฟอกสบู่ได้ตามปกติที่ช่วงครึ่งล่างของร่างกายและเช็ดตัวที่ช่วงครึ่งบนของร่างกาย ระวังอย่าให้น้ำถูกแผลผ่าตัดและงดใช้สบู่บริเวณแผลผ่าตัด
    • ถ้าน้ำถูกแผลซับให้แห้งโดยเร็ว ถ้าแผลผ่าตัดเปียกแฉะให้เปลี่ยนแผ่นปิดแผล

2. ไม่ต้องแกะแผ่นปิดแผลกันน้ำจนกว่าจะถึงวันที่นัด

3. หากเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านแผลที่รักแร้จะมีผ้าพันไว้ที่หน้าอก สามารถถอดผ้าพันหน้าอกออกได้ตอนเช็ดตัวทำความสะอาดร่างกายซึ่งเมื่อเสร็จแล้วให้ใส่ผ้าพันหน้าอกกลับเข้าไปใหม่่ 

4. การเปลี่ยนจากท่านอนเป็นนั่ง: ให้นอนตะเเคงแล้วค่อยๆดันตัวขึ้นเพื่อลดการเกร็งหน้าอก 

5. ในช่วงหลังออกจากโรงพยาบาลกลับไปที่บ้านแล้ว, ท่านยังไม่ต้องสวม support bra 1 (จนถึงวันที่แพทย์นัดตัดไหม) เพราะในช่วงนี้หน้าอกยังมีอาการบวมอยู่ 

6. ระหว่างช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดท่านควรพักผ่อน,งดการออกแรงที่ไม่จำเป็น 

7. ท่านจะได้รับการนัดตรวจแผลและตัดไหม 7 วันหลังออกจากโรงพยาบาล 

การดูแลแผลหลังตัดไหม 

  1. หลังตัดไหม 1 วัน  เจ้าหน้าที่จะปิดผ้าก๊อซไว้ที่เเผล ห้ามให้น้ำโดนแผล วันรุ่งขึ้นตอนเย็นท่านสามารถเเกะผ้าก๊อซออกได้  ในช่วง 3 วันเเรกสามารถอาบน้ำได้แต่อย่าให้น้ำรดลงบนแผลโดยตรงและไม่ถูสบู่บริเวณแผล หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วใช้ผ้าเช็ดตัวสะอาดซับแผลให้เเห้ง ไม่ต้องปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลแล้ว 
  1. หลังตัดไหม 1 สัปดาห์แรกยังไม่ต้องทายาหรือติดเเผ่นเจลลดแผลเป็น (scar gel sheet) เจ้าหน้าที่จะติดต่อท่านภายหลังเพื่อส่งวิธีการทายาและแผ่นเจลให้  
  1. หลังตัดไหม 3 สัปดาห์ ท่านสามารถเริ่มการบริหารหน้าอกได้ เจ้าหน้าที่จะติดต่อท่านส่งคลิปการบริหารหน้าอกให้ 
  2. ให้งดกิจกรรมต่อไปนี้ 
กิจกรรม (Activities)ระยะเวลาที่ต้องงดหลังผ่าตัด 
ขับรถ 2-4 สัปดาห์ 
ยกของหนัก 1 กก.ขึ้นไป 1-2 เดือน 
แช่น้ำในอ่างหรือสระว่ายน้ำ 2-3 เดือน 
ออกกำลังกายทุกชนิด 6 เดือน 
ว่ายน้ำหรือดำน้ำ 6 เดือน 
นอนคว่ำ 6 เดือน 

การใส่เสื้อชั้นในพยุงหน้าอกหลังผ่าตัด ( Post surgery support bra)

  1. ให้เริ่มใส่ support bra ได้ในวันแรกหลังจากตัดไหมแล้ว ให้ใส่แบบหลวมๆก่อน 
  1. ในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากตัดไหม ให้ใส่ support bra ในเวลานอนทุกคืนเพื่อพยุงทรงหน้าอก 
  1. ในช่วงกลางวัน 3 เดือนแรกให้ใส่ support bra หรือเสื้อชั้นในที่ไม่มีโครงลวด ส่วนเสื้อชั้นในที่มีโครงสามารถใช้ได้หลัง 3 เดือนไปแล้ว 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลพระรามเก้า  
หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ 20901 ,  20902

PI-SPC-16

โรคปวดศีรษะไมเกรน

PI-MED-44

โรคอุจจาระร่วง เฉียบพลัน (Acute gastroenteritis) ในผู้ใหญ่ 

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษคืออาการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งต่อวันขึ้นไปและระยะเวลาที่มีอาการไม่นาน (น้อยกว่า 2 สัปดาห์) ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง และบางรายอาจมีอาการที่รุนแรงได้ 

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น Norovirus, Rotavirus รองลงมาคือการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Campylobacter, Salmonella 

อากการติดเชื้อที่ทำให้เกิดท้องเสียเกิดขึ้นได้อย่างไร 

การติดเชื้อเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยเชื้ออาจปนเปื้อนในอาหารโดยตรงจากการประกอบอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือจากมือที่ไม่สะอาดที่สัมผัสสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อ, และใช้มือหยิบอาหารเข้าปากโดยไม่ได้ล้างมือ 

อาการของโรค 

  1. ท้องเสีย ถ่ายเหลว หลายครั้งต่อวัน
  2. ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน 
  3. มีไข้ ปวดศีรษะ 
  4. ปวดกล้ามเนื้อ 
  5. ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการท้องเสียรุนแรงอาจเกิดภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งหากการขาดน้ำเป็นมากรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กหรือผู้สูงอายุ 

การวินิจฉัย 

แพทย์วินิจฉัยโรคอุจจาะร่วงเฉียบพลันได้จากอาการดังกล่าวข้างต้นและร่วมกับการตรวจเชื้อในอุจจาระ ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการมากอาจมีการตรวจเลือดเพื่อประเมินระดับเกลือแร่ในเลือด,การทำงานของไต, การตรวจนับเม็ดเลือด  

การรักษา 

เนื่องจากสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส, การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การทดแทนน้ำและเกลือแร่เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย (ให้เกลือแร่ชนิดดื่ม หรือ ให้สารละลายเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ) , การให้ยาลดอาการไข้คลื่นไส้อาเจียนและปวดท้อง  

การดูแลตนเองเมื่อท้องเสีย 

  • ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้เพียงพอ จิบน้ำทีละน้อยทุก 10-15 นาที   กรณีที่ผู้ป่วยมีท้องร่วงมากควรดื่มสารละลายเกลือแร่ (ORS) เพื่อรักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย 
  • ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม, ซุปใส, ขนมปัง, เนื้อสีขาว เช่น ปลา, อกไก่ 
  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อมีอาการท้องเสียและหลังจากหายท้องเสียแล้วประมาณ 5-7 วัน ได้แก่ 
    • อาหารรสเผ็ดรสจัด
    • ผักสดและผลไม้เนื่องจากผักผลไม้บางชนิดย่อยยากและอาจทำให้มีอาการปวดท้องหรือท้องอืด,
    • นมและผลิตภัณฑ์นม เช่น ครีม, ชีส 
    • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

อาการที่ต้องรีบแจ้งแพทย์หรือพยาบาล 

  • อาการหน้ามืดเป็นลมซึ่งอาจเกิดจากากรขาดน้ำรุนแรง 
  • มีไข้สูง 
  • มีเลือดปนในอุจจาระหรืออาเจียน 
  • ไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง 

การป้องกันโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

เนื่องจากอุจจาระร่วงเฉียบพลันเป็นโรคติดต่อโดยการรับเชื้อเข้าทางปาก ดังนั้นการรักษาสุขอนามัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ การป้องกันโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันสามารถทำได้โดย

  1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาดถูกสุขลักษณะ
  1. ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร, ก่อนทำอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ12210, 12223 

PI-GIC-13

English topic

อาการเวียนหัวบ้านหมุน

อาการเวียนหัวบ้านหมุน เป็นความผิดปกติที่พบบ่อยมักเกิดในผู้ใหญ่วัยทำงานขึ้นไปทั้งชายและหญิง อาการที่เป็นคือเวียนหัว, โคลงเคลงเหมือนอยู่บนเรือ, หรือบางคนอาจมีอาการหนักคือรู้สึกเหมือนสิ่งแวดล้อมรอบๆหมุนติ้วอยู่รอบตัว ผู้ป่วยมักมีคำถามว่าอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร, จะมีผลกระทบร้ายแรงตามมาไหม และสามารถหายขาดได้ไหม

  สาเหตุของอาการเวียนหัวบ้านหมุน

อาการเวียนหัวบ้านหมุนแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Peripheral vertigo และ Central vertigo

Peripheral vertigo

เกิดจากปัญหาในหูชั้นในซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว ระบบหูของมนุษย์ประกอบด้วยหูชั้นนอกคือใบหู,ช่องรูหูและแก้วหู หูชั้นกลางประกอบด้วยช่องแก้วหูซึ่งภายในมีกระดูกหูที่ทำหน้าที่ถ่ายโอนเสียงจากเยื่อแก้วหูเข้าสู่อวัยวะรับเสียง หูชั้นในประกอบด้วยอวัยวะ 3 ส่วนที่ทำหน้าทีรับสัญญาณเสียงและควบคุมการทรงตัวคือกระดูกรูปก้นหอย, ท่อครึ่งวงกลมสามเสี้ยว, และส่วนที่เรียกว่า vestibule

สาเหตุที่พบบ่อยของ peripheral vertigo มีดังนี้

  1. หินปูนในหูชั้นในเคลื่อนที่ (Benign paroxysmal peripheral vertigo : BPPV) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเวียนศีรษะบ้านหมุนโดยจะพบบ่อยในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป อาการที่เกิดขึ้นคือเวียนหัวบ้านหมุนเมื่อมีการขยับศีรษะเร็วๆ สาเหตุของ BPPV คือการเคลื่อนที่ของหินปูนแคลเซียมคาร์บอเนตขนาดเล็กที่เรียกว่า “โอโตโคเนีย (Otoconia)” ซึ่งเกาะตัวอยู่บริเวณหูชั้นในส่วนที่เรียกว่า “ยูตริเคิล (Utricle)”ทำหน้าที่ส่งสัญญาณการทรงตัวและตำแหน่งศีรษะไปยังสมอง เมื่อคนเราอายุมากขึ้น otoconia อาจมีการกรอบแตกหลุดออกจากตำแหน่งเดิมและเคลื่อนเข้าไปอยู่ในหูชั้นในส่วนที่เรียกว่า “เซมิเซอร์คิวล่าร์ แคนแนล” ซึ่งก็เป็นอวัยวะที่ส่งสัญญาณในการควบคุมการทรงตัวเช่นกันจึงไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุน BPPV โดยตัวมันเองเป็นอาการที่ไม่ได้มีอันตราย ยกเว้นกรณีที่เกิดในผู้สูงอายุอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออุบัติการพลัดตกหกล้ม

2. โรคมีเนียร์หรือที่คนไทยเรียกว่าภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากการที่ของเหลวในหูชั้นในซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมการทรงตัวมีปริมาณไม่เท่ากัน ทำให้เกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุนและผู้ป่วยมักมีอาการเสียงกริ่งในหู (tinnitus) รู้สึกหูอื้อ, และอาจมีอาการหูดับร่วมด้วย. อาการของโรคเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและจะเป็นอยู่ไม่กี่นาทีจนถึงหลายชั่วโมง

3. ความผิดปกติของหูชั้นในอื่นๆเช่นการอักเสบซึ่งส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส, การได้รับการกระทบกระเทือนของหูชั้นในเช่นการได้รับอุบัติเหตุ, ความผิดปกติของการไหลเวียนน้ำเหลืองในหูชั้นใน เป็นต้น

Central vertigo

เกิดจากปัญหาในสมองเล็กส่วนหลัง(cerebellum)ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมอง, การใช้ยาบางชนิดเช่นยากันชัก, แอลกอฮอล์, เนื้องอก เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยอาการเวียนหัวบ้านหมุน

แพทย์จะตรวจร่างกาย, ตรวจหูและระบบประสาท, ในบางรายอาจมีการตรวจการได้ยิน, การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ขึ้นกับอาการที่ผู้ป่วยเป็น

การรักษาอาการเวียนหัวบ้านหมุน

  • การรักษาอาการเวียนหัวบ้านหมุนขึ้นกับสาเหตุที่เป็น กรณีที่มีสาเหตุที่ชัดเจนเช่นการอักเสบของหูชั้นในแพทย์จะรักษาที่ต้นเหตุ กรณีที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนจะรักษาตามอาการเช่นการให้ยาแก้เวียนศีรษะ, ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • กรณี BPPV สามารถหายเองได้, ใช้ยาตามอาการ, หรือบางรายแพทย์อาจพิจารณารักษาโดยการทำกายภาพบำบัดที่เรียกว่า “Epley Maneuver” ซึ่งประกอบด้วยการหมุนศีรษะและเปลี่ยนท่าในทิศทางเฉพาะเพื่อให้เศษ otoconia กลับเข้าไปอยู่ใน utricle หรือ Brandt-Daroff exercises ซึ่งผู้ป่วยสามารถฝึกได้เองที่บ้าน ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • การรักษาโรคมีเนียร์(น้ำในหูไม่เท่ากัน) นอกจากการใช้ยาตามอาการแล้วอาจมีการใช้ยาขับปัสสาวะร่วมกับการควรลดปริมาณเกลือในอาหารซึ่งจะช่วยให้การควบคุมความดันและน้ำในหู ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่, การเลิกบุหรี่จะทำให้อาการลดลง อาหารบางอย่างอาจทำให้อาการเป็นมากขึ้นเช่น กาแฟ ช็อคโกแล็ต ซึ่งผู้ป่วยควรสังเกตตนเองว่าอาหารชนิดใดกระตุ้นให้มีอาการมากขึ้นและหยุดรับประทานอาหารชนิดดังกล่าว ซึ่งการรักษาโดยการใช้ยาและการปรับพฤติกรรมจะช่วยให้อาการดีขึ้นประมาณ 60% ของผู้ป่วย

คำแนะนำในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุนเฉียบพลัน

  1. เมื่อเกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุนให้นั่งหรือนอนลงเพื่อลดความเสี่ยงในการล้ม
  2. พยายามอยู่นิ่งๆไม่ขยับศีรษะไปมาเพื่อลดการกระตุ้นระบบการทรงตัว
  3. หลับตา, หลีกเลี่ยงแสงสว่างจ้า, หลีกเลี่ยงการใช้สายตา
  4. รับประทานยา(ถ้ามี)พักนิ่งๆให้อาการลดลงแล้วจึงค่อยๆขยับเปลี่ยนท่า

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ12210, 12223 

PI-MED-30/Rev.1

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดตา

วันแรกหลังการผ่าตัด

หากตาข้างที่ผ่าตัดได้รับการปิดตาผนึกแน่น, ไม่ต้องเปิดตาเพื่อใช้ยาหยอดตาใดๆจนกว่าจะถึงกำหนดนัดเปิดตาและตรวจแผลที่โรงพยาบาล ในวันนัดกรุณานำยาและชุดกระเป๋าดูแลดวงตาที่ได้รับในวันผ่าตัดมาด้วยทั้งหมด

หากตาข้างที่ผ่าตัดได้รับการปิดด้วยผ้าก๊อซ ท่านสามารถเปิดตาเพื่อหยอดยาหยอดตาได้(หากแพทย์สั่ง)

การใช้ยาหยอดตา

กรณีที่แพทย์สั่งยาหยอดตาหรือยาป้ายตาหลังการผ่าตัดให้ดูวิธีการใช้ยาบนฉลากยาที่เภสัชกรจัดทำให้

โปรดปฏิบัติดังนี้ เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือตามที่แพทย์แนะนำ

ควรพักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงการใช้สายตาโดยเฉพาะการจ้องจอคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือมากเกินไป

ห้ามล้างหน้า ในการทำความสะอาดหน้าให้ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดพอหมาดเช็ดใบหน้าโดยเว้นรอบดวงตาในการทำความสะอาดใบหน้า

การสระผมให้ระมัดระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าตาอย่างเด็ดขาด ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยท่านอาจรับการสระผมที่ร้านทำผมหรือให้ญาติหรือเพื่อนช่วยสระผมให้

งดแต่งหน้า งดทาครีมรอบดวงตา

งดทำกิจกรรมที่มีฝุ่นควันหรือไปในสถานที่มีฝุ่นควัน

งดทำอาหาร และงดรับประทานอาหารที่จะมีควัน เช่น อาหารปิ้งย่าง หมูกระทะ หม้อไฟ

ให้นอนหงายเป็นหลัก หากนอนตะแคงต้องระมัดระวังให้ดวงตาข้างที่ผ่าตัดตะแคงขึ้นด้านบน และใส่ฝาครอบตาก่อนนอนทุกคืนเพื่อป้องกันการขยี้ตาขณะหลับ

ใส่แว่นป้องกันตาตลอดเวลาเมื่อตื่นนอน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ น้ำ ฝุ่น ลม เข้าตา

ถ้าท่านออกไปกลางแจ้งควรใส่แว่นกันแดดตลอดเวลาเพื่อลดการระคายเคืองตาจากแสงแดด

งดกิจกรรมที่จะทำให้ความดันในดวงตาสูงขึ้น 

  1. งดออกกำลังกาย
  2. งดยกของหนัก
  3. งดการเบ่งแรงๆ
  4. แปรงฟันอย่างระมัดระวังไม่ให้กระตุ้นการอาเจียน

กิจกรรมที่ทำได้ตามปกติ

รับประทานอาหารและยาประจำตามปกติ

การอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ทำได้ตามสมควรแต่ไม่ควรใช้สายตาเป็นเวลานานเกินไป

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์จักษุ

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ 20831, 20832 

PI-EYE-08

English topic

โรคต้อกระจก

ในดวงตาทั้งสองข้าง,มีเลนส์แก้วตา (lens) มีลักษณะนูนใสอยู่หลังม่านตา เลนส์แก้วตาแต่ละข้างจะทำหน้าที่หักเหแสงและโฟกัสแสงให้ตกพอดีที่จอประสาทตาทำให้เราเห็นภาพได้ชัด เมื่ออายุมากขึ้น
เลนส์แก้วตาจะมีการเสื่อมสภาพเกิดการขุ่นมัวทำให้แสงเข้าสู่จอประสาทตาได้ลดลงจึงมองเห็นภาพไม่ชัด สภาวะนี้เรียกว่า “ต้อกระจก”

สาเหตุของต้อกระจก

  • ส่วนใหญ่ของต้อกระจกเกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์ตามอายุ ซึ่งมักเริ่มพบเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป และพบมากขึ้นเมื่ออายุเกิน 65 ปี
  • ผลจากยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ชนิดรับประทานหรือหยอดตา
  • โรคร่วมบางชนิดทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกมากขึ้น เช่น เบาหวาน โรคอ้วน
  • การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุทางตา, เคยมีการอักเสบหรือติดเชื้อบริเวณตา, ประวัติต้อกระจกในครอบครัว

อาการของต้อกระจก

การขุ่นของเลนส์แก้วตาจะค่อยเป็นอย่างช้าๆใช้เวลานานเป็นปีๆซึ่งทำให้การมองเห็นลดลงช้าๆโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ผู้ป่วยมักจะมีอาการมองเห็นลดลงเมื่ออยู่ในที่มีแสงไม่เพียงพอเหมือนมองผ่านหมอกหรือกระจกขุ่น ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเห็นแสงไฟแตกกระจายในเวลากลางคืน และต้อกระจกบางชนิดจะทำให้ตามัวลงเมื่อผู้ป่วยอยู่กลางแจ้ง

ชนิดของเลนส์แก้วตาเทียม

ชนิดเลนส์แก้วตาเทียม
Type of intraocular lens (IOL)
ระยะใกล้ระยะกลางระยะไกลการแก้ไขสายตาเอียง
เลนส์โฟกัสภาพหลายระยะและแก้สายตาเอียง (Multifocal-Toric IOL)
เลนส์โฟกัสภาพหลายระยะ
(Multifocal IOL)
เลนส์โฟกัสภาพระยะเดียวและแก้สายตาเอียง
(Monofocal -Toric IOL)
เลนส์โฟกัสภาพระยะเดียว
(Monofocal IOL)

ต้อกระจกสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา โดยการผ่าตัดต้อกระจกมีความปลอดภัยสูง มีโอกาสในการติดเชื้อน้อยกว่า 1 % และสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นมากกว่า 95%

การผ่าตัดต้อกระจก มี 2 วิธี
  1. การผ่าตัดแบบเดิม Conventional Surgery
จักษุแพทย์ใช้ใบมีดผ่าตัดเปิดแผลขนาด 12-13 มม. ที่ขอบกระจกตา
นำต้อกระจกออกทางแผล
ใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่เลนส์ที่เป็นต้อกระจกและถูกนำออกไปแล้ว
จักษุแพทย์ทำการเย็บปิดแผล
วิธีนี้ต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้น 4-6 สัปดาห์ที่จะมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ

2.การผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

จักษุแพทย์ทำการเปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 2.75 มม. ใช้เครื่องมืออัลตราซาวด์ขนาดเล็กทำการสลายต้อกระจกผ่านทางแผลนี้
ใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่เลนส์ที่เป็นต้อกระจกและถูกนำออกไปแล้ว
วิธีนี้ไม่ต้องมีการเย็บปิดแผล และใช้เวลาพักฟื้นเพียง 2-3 วัน

เลนส์แก้วตาเทียม เลนส์แก้วตาเทียมจะมีอายุการใช้งานได้นานตลอดชีพมากกว่า 95 % ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมจะมีการมองเห็นที่ดีขึ้น มีน้อยรายที่เนื้อเยื่อรองรับเลนส์แก้วตาเทียมอาจมีการขุ่นตัวหลังจากการใส่เลนส์เป็นเวลาหลายปี การมองเห็นที่เคยชัดเจนหลังผ่าตัดอาจจะค่อยๆลดลงบ้าง จักษุแพทย์สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยไม่มีความเจ็บปวดด้วยการใช้ แย็กเลเซอร์ (Yag laser) เพื่อขจัดความขุ่นตัวของเนื้อเยื่อรองรับเลนส์ให้หมดไปได้ทันที

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์จักษุ

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ 20831, 20832 

PI-EYE-06/Rev.1

เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นจนถึงตาบอดได้ เบาหวานขึ้นตาสามารถเกิดได้ถึง 90% ในผู้ป่วยเป็นเบาหวานนาน 15 ปีขึ้นไป ระยะเวลาการเป็นเบาหวานที่ยาวนานมีผลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา โดยแม้ว่าผู้ป่วยจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขึ้นตา

สาเหตุ

เบาหวานขึ้นตาเกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือดในชั้นจอประสาทตาทำให้เกิดการโป่งพองของเส้นเลือดและรั่วซึมของสารน้ำและเม็ดเลือด ทำให้จอประสาทตาบวม รวมถึงมีการงอกใหม่ของเส้นเลือดที่ผิดปกติทำให้เกิดเลือดออกในจอประสาทตาและการลอกตัวของจอประสาทตาและทำให้ตาบอดในที่สุด


อาการ

ในระยะเริ่มต้นและระยะปานกลางผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตามักไม่แสดงอาการทำให้โรคดำเนินเข้าสู่ระยะรุนแรงซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการตามัว, เห็นจุดดำๆกลางภาพ, มองเห็นภาพมืดเป็นส่วน ๆ หรือการมองเห็นสีเพี้ยนไป

การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

  1. รับการตรวจติดตามกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัดหมาย
  2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. รักษาโรคร่วมที่มี เช่น โรคความดันโลหิตสูง, ภาวะไขมันในเลือดสูง, งดสูบบุหรี่
  4. ดูแลภาวะโภชนาการและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

  1. ในผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นตาในระยะเริ่มต้นและระยะปานกลางจักษุแพทย์จะนัดมาตรวจติดตามอาการเป็นระยะ
  2. หากมีเส้นเลือดงอกใหม่ผิดปกติ,หรือจุดรับภาพ (macular) บวม จักษุแพทย์จะทำการรักษาด้วยกาใช้เลเซอร์ที่จอประสาทตาหรือฉีดยาเข้าน้ำวุ้นตาเพื่อยับยั้งการลุกลาม
  3. หากมีภาวะแทรกซ้อนเช่นการหลุดลอกของจอประสาทตาซึ่งมักเกิดขึ้นจากการไม่ได้รับการตรวจติดตามและรักษาอาการตั้งแต่เริ่มแรก. กรณีเช่นนี้จักษุแพทย์ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด

การเตรียมตัวเพื่อตรวจจอประสาทตา

  1. เนื่องจากตาจะมัวหลังจากขยายม่านตา ประมาณ 4 ชั่วโมง จึงควรนั่งรถรับจ้างมาโรงพยาบาลหรือมีคนช่วยขับรถกลับบ้านให้
  2. ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง (รอม่านตาขยายจากการหยอดตา)
  3. หลังตรวจจะมีอาการอ่านหนังสือไม่ชัด ทำคอมพิวเตอร์ไม่สะดวก 3-4 ชั่วโมงแล้วจึงกลับมาเป็นปกติ

การนัดตรวจติดตามในผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

  1. ระยะเริ่มต้น นัดตรวจติดตามอาการทุก 6 เดือน
  2. ระยะปานกลาง นัดตรวจติดตามอาการทุก 4-6 เดือน
  3. ระยะรุนแรง นัดตรวจติดตามอาการทุก 3-4 เดือนหรือตามความเห็นของแพทย์

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศูนย์จักษุ

โรงพยาบาลพระรามเก้า  หมายเลขโทรศัพท์ 1270 ต่อ 20831, 20832 

..PI-EYE-05/Rev.1

English topic

error: Content is protected !!